วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

แบบผึกหัดท้ายบท

แบบผึกหัดท้ายบท

1.คลื่นเสียงหมายถึงอะไร
   ก.เป็นคลื่นตามยาวชนิดหนึ่งซึ่งอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่
   ข.เสียงที่เกิดบริเวณทะเลเท่านั้น
   ค.เป็นสิ่งที่ออกจากปากไปหาหู
   ง.เป็นคลื่นตามสั้นชนิดหนึ่งที่ไม่อาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่

2.คลื่นเสียงสามารถเดินทางผ่านตัวกลางอะไรได้เร็วที่สุด
   ก.ก๊าซไฮโดรเจน
   ข.น้ำทะเล
   ค.อะลูมิเนียม
   ง.แก้ว

3.การแบ่งคลื่นสามารถแบ่งได้กี่ชนิด
   ก.1ชนิด
   ข.2ชนิด
   ค.3ชนิด
   ง.4ชนิด

4.อัมปลิจูด คืออะไร
   ก.การกระจัดสูงสุดของการสั่นของอนุภาคจากระดับปกติ
   ข.ระยะทางสูงสุดของการสั่นของอนุภาคจากระดับปกติ
   ค.การกระจัดต่ำสุดของการสั่นของอนุภาคจากระดับปกติ
   ง.ระยะทางสูงสุดของการสั่นของอนุภาคจากระดับปกติ

5.คลื่นใต้เสียงหมายถึงอะไร
   ก.เสียงที่มีความถี่ต่ำกว่า 20 Hz
   ข. เสียงที่มีความถี่ระหว่าง 20 ถึง 20,000 Hz
   ค.เสียงที่มีความถี่สูงกว่า 20,000 Hz
   ง.ถูกทุกข้อ

6.เสียงที่มีความถี่น้อยเสียงจะมีลักษณะอย่างไร
   ก.เสียงแหลม
   ข.เสียงแตก
   ค.เสียงเพราะ
   ง.เสียงทุ้ม

7.ถ้าความดังของเสียงเกินกี่เดซิเบลจึงจะเป็นอันตรายต่อหู
   ก.60 เดซิเบล
   ข.100 เดซิเบล
   ค.70 เดซิเบล
   ง.85 เดซิเบล

8.หูแบ่งออกเป็นกี่่ส่วนอะไรบ้าง
   ก.3 ส่วน มี เยื้อแก้วหู ประสาทรับเสียง ส่วนสะท้อนคลื่นเสียง
   ข.2 ส่วน มี หูชั้นนอก หูชั้นใน
   ค.3 ส่วน มี หูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน
   ง.2 ส่วน มี เยื้อแก้วหู ประสาทรับเสียง

9.ปรากฏการณ์คลื่นกระแทกจะเกิดขึ้นเมื่อใด
   ก.เกิดขึ้นเมื่อแหล่งกำเนิดคลื่นเคลื่อนที่ช้ากว่าอัตราเร็วคลื่นในตัวกลางนั้น
   ข.เกิดขึ้นเมื่อแหล่งกำเนิดคลื่นเคลื่อนที่เร็วกว่าอัตราเร็วคลื่นในตัวกลางนั้น
   ค.เกิดขึ้นเมื่อแหล่งกำเนิดคลื่นเคลื่อนเท่ากับอัตราเร็วคลื่นในตัวกลางนั้น
   ง.ผิดทุกข้อ

10.มนุษย์สามารถทนต่อความเข้มเสียงสูงสุดได้เท่าไร
   ก.5 W/m2
   ข.0.000000000012 W/m2
   ค.1 W/m2

   ง. 0.00001 w/m2


(เฉลยด้านล่างนะครับ)





เฉลย
   

    1.ก.    2.ค.    3.ข   4.ก.   5.ก.  6.ง.  7.ง.  8.ค.   9.ข.  10.ค.            













  

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ปรากฎการณ์ของเสียง

ปรากฏการณ์ของเสียง

            ปรากฎการณ์ของเสียงมีหลายปรากฏการณ์ในที่นี้ขอยกมา2ตัวอย่างปรากฎการณ์เสียง
ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์และคลื่นกระแทก
            ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ (Doppler Effect) หรือบางครั้งเรียกว่า การเคลื่อนดอปเพลอร์ (Doppler shift) เป็นปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่งที่ตั้งชื่อตาม คริสเตียน ดอปเพลอร์ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงความถี่ของคลื่นและความยาวคลื่นในมุมมองของผู้สังเกตเมื่อมีการเคลื่อนที่ที่สัมพันธ์กับแหล่งกำเนิดคลื่นนั้น พบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวันเช่น เมื่อมีรถพยาบาลส่งสัญญาณไซเรนเคลื่อนเข้าใกล้ ผ่านตัวเรา และวิ่งห่างออกไป คลื่นเสียงที่เราได้ยินจะมีความถี่สูงขึ้น (กว่าคลื่นที่ส่งออกมาตามปกติ) ขณะที่รถเคลื่อนเข้ามาหา คลื่นเสียงมีลักษณะปกติขณะที่รถผ่านตัว และจะมีความถี่ลดลงเมื่อรถวิ่งห่างออกไป
                   ก. เมื่อผู้ฟัง สังเกตแหล่งกำเนิดเสียงที่กำลังหยุดนิ่งเมื่อแหล่งกำเนิดเสียงให้เสียงออกมา เสียงก็จะกระจายออกไปทุกทิศทางด้วยความยาวคลื่นที่เท่ากัน ถ้าแหล่งกำเนิดเสียงหยุดนิ่ง เราจะพบว่าเสียงที่ผู้ฟังได้ยินจะมีความยาวคลื่นเดียวกับที่แหล่งกำเนิดเสียงให้ออกมาดังรูปที่ 1
รูปที่ 1  แสดงความยาวคลื่นทุกด้านเท่ากัน เมื่อแหล่งกำเนิดคลื่นเสียงอยู่นิ่ง
ข. เมื่อผู้ฟังหรือแหล่งกำเนิดเสียงคลื่อนที่แต่ถ้าผู้ฟังหรือแหล่งกำเนิดเสียงเคลื่อนที่ ความยาวคลื่นที่ออกไปด้านหน้าของแหล่งกำเนิดเสียงจะสั้นลง ส่วนความยาวคลื่นด้านหลังของแหล่งกำเนิดเสียงซึ่งเคลื่อนที่ผ่านไป จะมีความยาวคลื่นยาวมากขึ้น ดังรูปที่ 2
รูปที่ 2 แสดงความยาวคลื่นด้านหน้าและด้านหลังไม่เท่ากัน เมื่อแหล่งกำเนิดสียงเคลื่อนที่

                  ปรากฏการณ์นี้ เราจะได้ยินเสียงความถี่ผิดไปจากที่แหล่งกำเนิดให้ออกมา (ทั้งๆ ที่แหล่งกำเนิดเสียงให้เสียงความถี่เท่าเดิม) เราเรียกว่าเกิด ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์

ส่วนปรากฎการณ์เสียงที่ 2 คือ คลื่นกระแทก
              คลื่นกระแทก  คือ ปรากฏการณ์ที่หน้าคลื่นเคลื่อนที่มาเสริมกันในลักษณะที่เป็นหน้าคลื่นวงกลมซ้อนเรียงกันไป โดยที่มีแนวหน้าคลื่นที่มาเสริมกันมีลักษณะเป็นรูปตัว V อันเนื่องมาจากแหล่งกำเนิดคลื่นเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่มากกว่าความเร็วของคลื่นในตัวกลาง ( Vs>V ) เช่น คลื่นกระแทกของคลื่นที่ผิวน้ำขณะที่เรือกำลังวิ่ง หรือคลื่นเสียงก็เกิดขึ้นเมื่อเครื่องบินบินเร็วกว่าอัตราเร็วของเสียงในอากาศ 

รูป แสดงคลื่นกระแทกที่เกิดขึ้นเมื่อเครื่องบินมีความเร็วมากกว่าความเร็วเสียง
ถ้าอัตราเร็วของเครื่องบินมากกว่ามากกว่าอัตราเร็วเสียงในอากาศมากๆ จนกระทั่งทำให้รูปกรวยยิ่งเล็กลงมากๆ แล้วทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความดันอย่างมาก และรวดเร็วเป็นผลทำให้เกิดเสียงดังคล้ายเสียงระเบิดบริเวณคลื่นกระแทกนี้เคลื่อนที่ผ่าน  อาจทำให้กระจกหน้าต่างแตกได้  เสียงที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า“ซอนิกบูม ( Sonic Boom )”



เลขมัค  คือ ตัวเลขที่บอกให้เราทราบว่า อัตราเร็วของแหล่งกำเนิดคลื่น  มีค่าเป็นกี่เท่าของอัตราเร็วของคลื่นในตัวกลาง เช่น เครื่องบินไอพ่นบินด้วยความเร็ว 2 มัค หมายความว่าเครื่องบินกำลังบินด้วยความเร็ว 2 เท่าของความเร็วเสียงในอากาศ  เลขมัคถูกเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ ” M ”  พิจารณาได้ดังนี้






  

หูกับการได้ยิน

หูกับการได้ยิน

            หูแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ หูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน ดังรูปคลื่นเสียงเป็นสิ่งเร้าเมื่อคลื่นเสียงผ่านเข้าสู่ช่องหู ส่วนนอก (External auditory canal) ไปส่หูส่วนกลาง (middle ear) ซึ่งมีเยื่อแก้วหู (lympanic membrane) คลื่นเสียงทําให้อากาศ สั่นสะเทือนส่งผลให้เยื่อแก้วหูสั่น กระทบกับกระดูกหูรปค้อน กระดูกรูปทั่งและกระดูกรูปโกลน ทําให้เกิดการสั่นสะเทือนไปยังของเหลว Perilymph และของเหลว Endolymph ในหูส่วนใน ซึ่งคลื่นของเหลวนี้จะไปกระตุ้นเซลล์รับ เสียงส่งต่อไปยังประสาทรับเสียง (auditory nerve) ส่งไปยังศูนย์กลางรับเสียงในสมองซึ่งแปลความรู้สึกเป็นเสียงต่างๆ


มลภาวะของเสียง

มลภาวะของเสียง


มลภาวะทางเสีย เป็นสภาวะที่มีการก่อให้เกิดเสียงที่มีการรบกวน อาจมาจากแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆ ทั้งจากมนุษย์, สัตว์ หรือเครื่องจักรต่างๆ โดยหากเกิน 85 เดซิเบล จะเป็นอันตรายต่อหู ยิ่งถ้าเกิน 90 เดซิเบลจะเป็นอันตรายต่อหูอย่างมาก ดังนั้นไม่ควรเข้าใกล้บริเวณที่มีเสียงดังเกินจะรับได้
ทั้งนี้ แหล่งที่มาของเสียงภายนอกทั่วโลกส่วนใหญ่มาจากการก่อสร้างและระบบการขนส่งรวมทั้ง เสียงรบกวนจากพาหนะยานยนต์, เครื่องบิน และรถไฟ หรือแม้แต่การวางผังเมืองที่ไม่ดีอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงได้เช่นกัน และทางด้านแหล่งอุตสาหกรรมข้างเคียง ตลอดจนการปลูกสร้างที่อยู่อาศัยก็อาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงในพื้นที่บริเวณที่อยู่อาศัยได้เช่นกัน
มลภาวะทางเสียงทั้งภายในและภายนอกอาคารมีหลายชนิด อาทิ เสียงเตือนภัยจากรถ,เสียงไซเรนสัญญาณฉุกเฉิน, อุปกรณ์เครื่องกล, พลุ, ฮอร์นบีบอัดอากาศ, เครื่องเจาะถนน, เสียงสุนัขเห่า, เครื่องใช้ไฟฟ้า, การแสดงแสงสีเสียง, ระบบเสียงเพื่อความบันเทิง, โทรโข่งไฟฟ้า และเสียงตะโกนจากมนุษย์

ผลกระทบจากภาวะมลพิษทางเสียง

  1. ผลกระทบต่อการได้ยิน แบ่งเป็น 3 ลักษณะคือ
  • หูหนวกทันที เกิดขึ้นจากการที่อยู่ในบริเวณที่มีเสียงดังเกิน 120 เดซิเบลเอ
  • หูอื้อชั่วคราว เกิดขึ้นเมื่ออยู่ในที่มีระดับเสียงดังตั้งแต่ 80 เดซิเบลเอขึ้นไปในเวลาไม่นานนัก
  • หูอื้อถาวร เกิดขึ้นเมื่ออยู่ในบริเวณที่มีระดับความดังมากเป็นเวลานานๆ
  1. ด้านสรีระวิทยา เช่น ผลกระทบต่อระบบการหมุนเวียนของเลือด ต่อมไร้ท่อ อวัยวะสืบพันธุ์ ระบบประสาท และความผิดปกติของระบบการหดและบีบลำไส้ใหญ่ เป็นต้น
  2. ด้านจิตวิทยา เช่น สร้างความรำคาญ ส่งผลต่อการนอนหลับพักผ่อน ผลต่อการทำงานและการเรียนรู้ รบกวนการสนทนาและการบันเทิง
  3. ด้านสังคม กระทบต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำให้ขาดความสงบ
  4. ด้านเศรษฐกิจ มีผลผลิตต่ำเนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานลดลง เสียค่าใช้จ่ายในการควบคุมเสียง
  5. ด้านสิ่งแวดล้อม เสียงดังมีผลต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ เช่น ทำให้สัตว์ตกใจและอพยพหนี



วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ระดับเสียงและคุณภาพของเสียง

ระดับเสียงและคุณภาพของเสียง

     ระดับเสียง      

           เสียงอาจจะแบ่งระดับเสียงตามความถี่
เสียงที่มีความถี่น้อย ---> เสียงทุ้ม 
เสียงที่มีความถี่สูง ---> เสียงแหลม 
           
            การแบ่งระดับเสียงดนตรีทางวิทยาศาสตร์ 


    คุณภาพเสียง

ลักษณะของคลื่นเสียงที่แตกต่างกันสําหรับแต่ละแหล่งกําเนิดที่ต่างกันซึ่งจะให้เสียงที่มีลักษณะเฉพาะตัวที่ต่างกัน มีความถี่มูลฐานและฮาร์มอนิกต่าง ๆ ออกมา พร้อมกันเสมอ แต่จำนวนฮาร์มอนกิและและความเข้มเสียงจะแตกต่างกันไป คุณภาพเสียงช่วยให้เราสามารถแยกประเภทของแหล่งกําเนิดเสียงได้


คลื่นนิ่งและการได้ยิน

คลื่นนิ่งและการได้ยิน

    คลื่นนิ่ง

                 เป็นปรากฏการณ์แทรกสอดที่เกิดจากการซ้อนทับระหว่างคลื่นสองขบวน ซึ่งเคลื่อนที่สวนทางกัน โดยคลื่นทั้งสองคมีวามถี่ ความยาวคลื่น และอัมปลิจูดของคลื่นเท่ากัน


    การได้ยิน

                   กําลังเสียง (P) คือปริมาณพลังงานเสียงที่ส่งออกมาจากแหล่งกำเนิดใน หนึ่งหน่วยเวลา หน่วย จูลต่อวินาที(J/s) หรือ วัตต์(W) การที่คนเราได้ยินเสียงดังหรือค่อยขึ้นกับการถ่ายโอนพลังงานเสียงนี้นั่นเอง ความเข้มเสียง (I) คือ กําลังเสียงที่แหล่งกำเนิดเสียงแผ่ออกไปต่อหนึ่ง หน่วยพื้นที่ ของหน้าคลื่้นทรงกลม


                หูของมนุษยสามารถตอบสนองต่อความเข้มเสียงต่ำสุดได้ 0.000000000012 W/m2 หูของมนุษยสามารถทนต่อความเข้มเสียงสูงสุดได้ 1 W/m2
               ระดับความเข้มเสียง (L): การบอกความดังของเสียงนิยมบอกในรูปของ ระดับความเข้มเสียง ความเข้มเสียง ในหน่วย เดซิเบล (dB) ระดับความเข้มเสียงค่อยสุดที่มนุษย์สามารถได้ยิน คือ 0 dB ระดับความเข้มเสียงมากสุดที่มนุษย์สามารถทนฟังได้และเป็นอันตราย คือ 120 dB ความสัมพันธระหว่างความเข้มเสียง (I) และระดับความเข้มเสียง (L)


ช่วงความถี่ของแหล่งกำเนิดและช่วงความถี่เสียงที่มนษยุ ์-สัตว์ได้ยิน



สมบัติของเสียง

สมบัติของเสียง

                      
                   1. สมบัติการสะท้อนของเสียง
       การสะท้อนของเสียงจะเป็ นไปตามกฏการสะท้อน ดังนี้ 1) มุมตกกระทบ 𝜃 มุมสะท้อน 𝜃 2) รังสีตกกระทบ รังสีสะท้อน และเส้นแนวฉากจะต้อง อยู่ในระนาบเดียวกัน
       
           เสียงก้อง
        ในการเดินเรือมีการใช้เสียงก้องหาความลึกของทะเล
ตัวอย่าง เรือส่งคลื่นเสียงออกไปข้างล่างและรับคลื่นสะท้อนหลังจากนั้น 1 วินาที
              ถ้าอัตราเร็วของเสียงในน้ำเป็น 1,500 m/s น้ำลึกเท่าไร
               เวลาที่เสียงเคลื่อนที่ไปยังก้นทะเล = วินาที (และ วินาที กลับมา)
               ความลึกของน้ำ 1/2 * 1500
                 = 750 m
           1.1 สมบัติการหักเหของเสียง
 จะเป็นไปตามกฏของของสเนลล์

          1.1.1 ปรากฏการณ์หักเหของเสียงในธรรมชาติ
1. การเกิดฟ้าแลบแล้วไม่ได้ยินเสียงฟ้าร้อง เพราะว่าในขณะเกิดฟ้าแลบ ถ้าอากาศเบื้องบนมีอุณหภูมต่ำมากว่า อากาศ เบื้องล่างทำให้เสียงจากฟ้าแลบเคลื่อนที่จากอากาศที่มีอณหภมู ต่ำไปอุณหภูมิสูงกว่าทิศของคลื่นเสียงจะเบนออก จากเส้นแนวฉากและเมื่อมุมตกกระทบโตกว่ามุมวิกฤต จะทำให้คลื่นเสียงเกิดการสะท้อนกลับหมดไปยังอากาศเบื้องบน จึงทำให้ไม่ไดยินเสียงฟ้าร้อง

  มุมวิกฤต คือ มุมตกกระทบที่ทำให้มุมหักเหโต 90 องศา จะเกิดขึ้นได้เมื่อคลื่นเสียงเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีอัตราเร็วน้อยไปยังบริเวณที่มีอัตราเร็วมาก

           1.1.2 การได้ยินเสียงในเวลากลางคืนดังชัดเจนกว่าในเวลากลางวนั เวลากลางคืน อุณหภูมิของอากาศตอนล่างใกล้พื้นดินต่ำกว่าตอนบน เสียงที่เคลื่อนที่ขึ้นไปตอนบนจะหักเหลงสู่อากาศตอนล่างใกล้พื้นดินทำให้ผู้สังเกตที่พื้นดินไกลออกไปจากแหล่งกำเนิดได้ยินเสียงชัดเจน

เวลากลางวัน อุณหภูมิของอากาศตอนล่างใกล้พื้นดินสูงกว่าตอนบน เสียงที่เคลื่อนที่ขึ้นไปตอนบนจะหักเหขึ้นสู่บนอากาศตอนบนเร็วขึ้นทำให้ผู้สังเกตที่พื้นดินไกลออกไปจากแหล่งกำนิดได้ยินเสียงไม่ชัด หรือไม่ได้ยินเสียง

           1.1.3 การหักเหของเสียงเนื่องจากลม เมื่อมีลมพัดจะทำให้ทิศทางของคลื่นเสียงเปลี่ยนแปลงไปโดยเมื่อมีลมพัดจากซ้ายไปขวา ซึ่งอัตราเร็วของลมตอนบนจะมากกว่าตอนล่าง เนื่องจากตอนล่างมีสิ่งกีดขวางทำให้อัตราเร็วลม ลดลงจึงทำให้อัตราเร็ว และความยาวคลื่นเสียงในทิศทางต่างๆ เปลี่ยนไป

         1.2 สมบัติการเลี้ยวเบนของเสียง การเลี้ยวเบนของคลื่นเสียงเกิดเมื่อคลื่นเสียงเคลื่อนที่ผ่านสิ่งกีดขวาง ถ้าสิ่งกีดขวางกั้นการเคลื่อนที่ของคลื่นไว้ เพียงบางส่วน จะพบว่าคลื่นส่วนหนึ่งสามารถแผ่จากขอบของสิ่งกีดขวางไปทางด้านหลังของสิ่งกีดขวางนั้นได้
   
          1.3 สมบัติการแทรกสอดของคลื่นเสียง การแทรกสอดของคลื่นเสียง เกิดจากคลื่นจากแหล่ง        กำเนิดอาพันธ์ 2 แหล่ง เคลื่อนที่มาซ้อนทับกันแล้วทำให้เกิดจุดปฏิบัพ (เสียงดัง) และจุดบัพ (เสียงค่อย หรือไม่มีเสียง) สลับกัน (ข้อสังเกต : แหล่งกำเนิดอาพันธ์ คือ แหล่งกำเนิดที่มีแอมพลิจูดและ ความถี่เท่ากันซึ่งมีเฟสตรงกันหรือต่างกันคงตัว)

                               2. ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเร็วเสียงกับอณุหภมูิของอากาศ

           2.1 การหาอัตราเร็วเสียงในตัวกลางเสียงจะเคลื่อนที่ได้ดีในตัวกลางที่เป็นของแข็งรองลงมาคือของเหลว และเคลื่อนที่ได้ช้าในอากาศ

                              3. กำลังเสียง
       
          กำลังเสียง คือ อัตราการถ่ายโอนพลังงานเสียงของแหล่งกำเนิด หรือปริมาณพลังงานเสียงที่ส่งออกจากแหล่งกำเนิดในหนึ่งหน่วยเวลา มีหน่วยเป็น จลู ต่อวินาทีหรือ วัตต์

           3.1 ความเข้มเสียง คือ กำลังเสียงที่แหล่งกำเนิดเสียงส่งออกไปต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ของหน้าคลื่นทรงกลม

            3.2 ระดับความเข้มเสียง 𝛽 คือ ปริมาณที่ใช้บอกความดังของเสียงโดยเปรียบเทียบความเข้มเสียงที่ต้องการวัดกับ ความ เข้มเสียงที่ค่อยที่สุดที่มนุษย์ได้ยิน  = ความเข้มเสียงต่ำสุดที่มนุษย์ได้ยิน
       
       นักวิทยาศาสตร์ได้กำหนดปริมาณที่จะบอกความดังของเสียงที่ได้ยิน คือ ระดับความเข้มเสียง 𝜷 มีหน่วยเป็นเดซิเบล (decibel, dB) ระดบัความเข้ม เสียงต่ำ ที่สุดและสูงที่สุดที่หมู นุษยไ์ด้ยินอยู่ในช่วง 0 ถึง 120 เดซิเบล โดยถ้าระดบัเสียง ต่ำกว่า 0 เดซิเบลหูมนุษยจ์ะไม่ได้ยินเสียงนั้น แต่ถ้าระดับความเข้มเสียงสูงกว่า120 เดซิเบล จะเป็นอันตราย ต่อหูผู้ฟู้ง

                            4.ระดับเสียง

ระดับเสียงแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
1) คลื่นใต้เสียง หมายถึง เสียงที่มีความถี่ต่ำกว่า 20 Hz
2) คลื่นเสียง หมายถึง เสียงที่มีความถี่ระหว่าง 20 ถึง 20,000 Hz
3) คลื่นเหนือเสียง หมายถึง เสียงที่มีความถี่สูงกว่า 20,000 Hz

                            5. เสียงก้อง

   เสียงก้อง คือ เสียงที่ออกจากแหล่งกำเนิดแล้วสะท้อนกลับมาโดยใช้เวลาในการเดินทางมาถึงหูฟังมากกว่าเวลาที่เสียง เดินทางมาถึงหูผู้ฟังโดยตรง
    เวลาเสียงก้อง คือ เวลาที่นับจากขณะเสียงมีพลังงงานมากที่สุดจนกระทั่งเสียงมีพลังงานลดลงถึงค่าหนึ่ง(ลดลง 60 dB )
               
                      เสียงกังวาน
           เสียงก้องก่อให้เกิดความรำคาญได้ในห้องว่างหรือห้องโถง เสียงสะท้อนอาจใช้เวลานานจนกว่าจะหายไป เรียกว่า เสียงกังวาน เสียงกังวานที่ยาวนานทำให้ เราไม่ได้ยินเสียงของคนบางคนที่กำลังพูดอยู่ เราสามารถปรับปรุงเสียงในห้องโถงหรือโรงงานให้ดีขึ้นโดยใช้ม่าน พรม และ วัสดุอ่อนนุ่มสำหรับดูดกลืนเสียง หอแสดงดนตรีจะถูกออกแบบอย่างดีด้วย ตัวดูดกลืนเสียงเพื่อให้แน่ใจว่ามีเสียงกังวานที่เหมาะสม